ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความเป็นมาของ Ubuntu กับระบบ Network เป็นมาอย่างไร

อูบุนตู (Ubuntu) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"

อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 12.04 รหัส Precise Pangolin
ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

เรามาดูความเป็นมาของ ubuntu กันคับ
Ubuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้
โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntu
ส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ

ปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลง
ในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี
รุ่นและเวอร์ชั้น 
VersionCode nameRelease dateSupported until
DesktopServer
4.10Warty Warthog2004-10-202006-04-30
5.04Hoary Hedgehog2005-04-082006-10-31
5.10Breezy Badger2005-10-132007-04-13
6.06 LTSDapper Drake2006-06-012009-07-142011-06-01
6.10Edgy Eft2006-10-262008-04-25
7.04Feisty Fawn2007-04-192008-10-19
7.10Gutsy Gibbon2007-10-182009-04-18
8.04 LTSHardy Heron2008-04-242011-05-122013-04
8.10Intrepid Ibex2008-10-302010-04-30
9.04Jaunty Jackalope2009-04-232010-10-23
9.10Karmic Koala2009-10-292011-04-30
10.04 LTSLucid Lynx2010-04-292013-042015-04
10.10Maverick Meerkat2010-10-102012-04
11.04Natty Narwhal2011-04-282012-10
11.10Oneiric Ocelot2011-10-132013-04
12.04 LTSPrecise Pangolin2012-04-262017-04
ColourMeaning
RedRelease no longer supported
GreenRelease still supported
BlueFuture release


แบ่งเป็นสองรุ่นด้วยกันก็คือ แบบนี้คับ


Server Edition
เครื่องที่เก่ามากๆก็เป็นไปได้ที่จะลงระบบปฏิบัติการนี้ได้ (เช่น 75 MHz Pentium หน่วยความ จำหลัก 32 MB) , ระบบขั้นต่ำที่แนะนำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:
ไมโครโปรเซสเซอร์ 300 MHz สถาปัตยกรรมx86
หน่วยความจำหลัก 64 MB
พื้นที่ Harddisk 500 MB
การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640×480 pixel
ไดร์ฟ CD-ROM

Desktop Edition
สำหรับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสท็อปนั้นมีการแนะนำระบบขั้นต่ำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:
ไมโครโปรเซสเซอร์ 500 MHz สถาปัตยกรรมx86
หน่วยความจำหลัก 192 MB
พื้นที่ Harddisk 8 GB (ในการติดตั้งจริงต้องการ 4 GB )
การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 1024×768 pixel
การ์ดประมวลผลทางเสียง (ถ้ามี)
การ์ดเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก

หน้าตาของตัวล่าสุดครับพี่น้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)   ประวัติความเป็นมา               ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN)  ระบบเครือข่ายไร้สาย  (Wireless LANs)  เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ.  1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า  “ALOHNET”  ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional  ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์  7  เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ  4  เกาะโดยรอบ และ มีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า  Oahu ความหมาย               ระบบเครือข่ายไร้สาย ( WLAN = Wireless Local Area Network)  คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ  RF  และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ ,  ทะลุกำแพง ,  เพดานหร...

Linux Fedora Core 8 (VMware)

การทดลองครั้งที่ 1 การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการลงบน VMWare พื้นฐาน โปรแกรม VMWare เป็นโปรแกรมที่จำลองสภาพแวดล้อมของ เครื่องคอมพิวเตอร์  บนระบบปฏิบัติการหนึ่งๆ ซึ่งจะทำให้ดูเสมือนมี เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายเครื่อง ทำงานอยู่พร้อมกัน สภาพแวดล้อมที่ใช้ในการทดลอง โปรแกรม VMWare ที่ใช้ในการทดลองจะเป็นรุ่น VMServer 1.05 โดยการทดลองจะทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการต่างๆดังต่อไปนี้                 1 Linux Fedora Core 8 (Machine 1)                 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux Fedora Core 8 1 ทำการ ดับเบิ้ลคลิกที่ ไอคอนของ VMWare Server Console จากนั้นทำการเลือก Local Host  ดังรูปที่ 1.1 รูปที่ 1.1 หน้าจอการเลือกการใช้งาน VMware บนเครื่อง 2 ในกรณีที่เป็นการติดตั้งใหม่ให้ เลือกไอคอน New Virtual Machine  (ส่วนในกรณีที่มีการติดตั้งอยู่ก่อนแล้ว เลือกไอคอน Open Existing Virtual Machine ) หลังจากนั้นจะปรากฏ New ...

การ Config card Lan ใน Server Ubuntu

ให้ใส่รหัสผ่านของเราลงไป ระบบจะให้เราสร้างรหัสผ่านของยูสเซอร์ root ใหม่ รหัสผ่านของยูสเซอร์ root อีกครั้ง การสร้างรหัสผ่านของยูสเซอร์ root สำเร็จแล้ว พิมพ์คำสั่ง su กด Enter เพื่อขอใช้งานยูสเซอร์ root ใส่รหัสผ่านของยูสเซอร์ root ถ้าล็อกออนยูสเซอร์ root ตรง noom@server: ก็จะเปลี่ยนเป็น root@server:  พิมพ์คำสั่ง ifconfig เพื่อดูไอพี ของเครื่องเราแล้วดูบรรทัดที่สองตรง inet addr: ตามรูปไอพีคือ 192.168.1.42 ได้มาจากเครื่อง dhcp การเซตไอพีเองให้เป็น static IP พิมพ์คำสั่ง vi /etc/network/interfaces กด Enter กดคีย์อักษร  เพื่อเข้าสู่โหมดพิมพ์ข้อความ > เปลี่ยนจาก iface eth0 inet dhcp เป็น iface eth0 inet static แล้วพิมพ์คำสั่งเพิ่ม ตามรูปเลย แล้วทำการบันทึกด้วยการกด <Esc> แล้วตามด้วย <:><w><q> กด Enter จากนั้นรีสตาร์ตเซอร์วิสด้วยคำสั่ง /etc/init.d/networking restart กด Enter แล้วตรวจดูว่า IP Address เปลี่ยนแปลงหรือยัง ด้วยคำสั่ง ifconfig ก็จะได้ไอพีตามที่เราเซตก็คือ 192.168.1.20 เสร็จการติดตั้ง Ubuntu Linux Server