ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การติดตั้ง Ubuntu desktop v.12

Download  ได้จาก  http://www.ubuntu.com/download/desktop
เริ่มการติดตั้งกันเลยครับ
ให้ทำการเลือกภาษาจากนั้นกดปุ่ม Install Ubuntu เพื่อเริ่มการติดตั้ง:
หน้า ต่อไปเป็นหน้าความต้องการทรัพยากรพื้นฐานในการติดตั้ง Ubuntu 12.04 (ระบบที่จะติดตั้งลงไปต้องมีพื้นที่ว่างอย่างน้อยที่สุด 4.6GB, และต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้า,ปลั๊กไฟ เพื่อให้แน่ใจว่าไฟฟ้าจะไม่ดับหรือขัดข้องในช่วงที่กำลังติดตั้ง และเครื่องต้องต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ขณะติดตั้งด้วยนะครับ ซึ่งตามรูปต้องมีเชคถูกทุกตัว. จากนั้นให้เชคถูกที่ Download updates while installing และ Install this third-party software (ซึ่งจากการเชคถูกตรงนี้ระบบจะทำการติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานจำพวก Flash, MP3, และไฟล์ media อื่นๆ) และกดปุ่ม Continue:
ต่อ ไปเป็นหน้าสำหรับการจัดสรรพื้นที่ของระบบ โดยจะมีให้เราเลือกสองแบบคือ แบบที่ลบพื้นที่ทั้งหมดก่อนติดตั้งและแบบที่ให้เราจัดสรรพื้นที่เอง ในที่นี้เราจะทำการเลือกแบบ Erase disk and install Ubuntu และกดปุ่ม  Continue:
ให้ทำการเลือกพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง และกดปุ่ม Install Now:
จากนั้นเลือกโชนเวลาของเรา และกดปุ่ม  Continue:
เปลี่ยน keyboard layout ถ้าจำเป็น และกดปุ่ม  Continue:
พิมพ์ชื่อจริง, ชื่อคอมพิวเตอร์,ชื่อเข้าระบบและรหัสผ่านจากนั้นกดปุ่ม  Continue:
ระบบกำลังทำการติดตั้งซึ่งคงต้องรอให้ระบบติดตั้งเสร็จก่อน:
หลังจากเสร็จแล้ว,ระบบจะให้เราทำการ restart ให้คลิกที่ Restart Now:
ก่อนที่จะปิดระบบจริงๆหากเราติดตั้งจากแผ่น ระบบจะให้เราเอาแผ่นซีดีจากเครื่อง ในขั้นตอนนี้ให้ทำการเอาซีดีออกแล้วกด Enter:
เมื่อ restart เสร็จแล้วก็จะมาหน้า login ให้ท่านทำการ login โดยใช้ username และ password ที่กรอกไปก่อนหน้านั้น.

จากรูป icon ubuntu สีขาว,เราสามารถคลิกที่นี่เพื่อเลือกสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับเครื่องของเรา โดยทั่วไปแล้ว ubuntu จะเชตเป็นระบบ unity 3D ไว้เป็นค่าเริ่มต้น แต่หากเราจะเลือกแบบ ubuntu 2D ก็ได้เช่นเดียวกัน (เมื่อเราทำการเลือกแล้วระบบจะจำตัวเลือกของของเราไว้ เมื่อทำการ login ครั้งต่อไประบบก็จะใช้ตัวเลือกที่ได้เลือกไปแล้ว จนกว่าจะเปลี่ยนเป็นตัวเลือกอื่นๆ หมายเหตุ: หากต้องการใช้ Unity, แต่เครื่องของไม่รองรับระบบจะทำการแจ้งเตือนด้วยข้อความดังนี้: It seems that you do not have the hardware required to run Unity. Please choose Ubuntu Classic at the login screen and you will be using the traditional environment.):
หน้าจอที่ติดตั้งเสร็จแล้วจะเป็นดังรูป:
อ้างอิง http://nopphanan7.wordpress.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีทำเสาขยายสัญญาณ WiFi แบบรอบทิศทาง Omni Antenna ตอนที่ 1

Easy Homemade 2.4 Ghz Omni Antenna ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะสร้างเสา  wireless  หรือเสา  omni  ในราคาไม่แพง  ดังที่เห็นมีขายกันทั่วไปใน ท้องตลาด  ใช้ประโยชนย์ จากวัสดุและเครื่องมือที่หาได้ทั่วไปกับความรู้ที่ไม่มากนัก    พูดภาษาที่ยาก อีกหน่อยก็ คือ ทําเสา  omni directional colinear dipole ที่เหมาะสําหรับ wifi 802.11 แบบที่พบเห็ นมากมายในเว็บ สําหรับสาย  2.4 GHz omni antenna  จะเป็นการใช้สายทองเหลือง และสายชนิด  lmr-400  ซึ่งเราจะไม้นํามาใช้กับบทความนี้ นะครับ ที่จะใช้คือสาย  coax  โดยจะใช้ ชนิด RG-213 โดยสัดส่วนของความถี่  444MHz จะใช้ได้กั บ 2.4 GHz และเพื่อที่จะให้เพิ่มถึง  6 dB จึงต้องใช้ทั้งหมด 8 ท้อน และส่วนปลายด้านบนมีความยาวเท่ากับ 1/4 ของความยาวคลื่น ต่อด้วย หัว fly-lead  และ N-connector  ที่ปลายด่านล่าง  คนที่เคยทํามาแล้วใช้ เวลาประมาณ  2-3  ชั่วโมง ในการทํานะครับ อาจจะนานกว่านั้นในการทําครั้งแรกนะครับ ติดตามต่อ  ตอนที่ 2 นะครับ  เป็นขั้นตอนก...

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)   ประวัติความเป็นมา               ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN)  ระบบเครือข่ายไร้สาย  (Wireless LANs)  เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ.  1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า  “ALOHNET”  ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional  ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์  7  เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ  4  เกาะโดยรอบ และ มีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า  Oahu ความหมาย               ระบบเครือข่ายไร้สาย ( WLAN = Wireless Local Area Network)  คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ  RF  และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ ,  ทะลุกำแพง ,  เพดานหร...

การ Config card Lan ใน Server Ubuntu

ให้ใส่รหัสผ่านของเราลงไป ระบบจะให้เราสร้างรหัสผ่านของยูสเซอร์ root ใหม่ รหัสผ่านของยูสเซอร์ root อีกครั้ง การสร้างรหัสผ่านของยูสเซอร์ root สำเร็จแล้ว พิมพ์คำสั่ง su กด Enter เพื่อขอใช้งานยูสเซอร์ root ใส่รหัสผ่านของยูสเซอร์ root ถ้าล็อกออนยูสเซอร์ root ตรง noom@server: ก็จะเปลี่ยนเป็น root@server:  พิมพ์คำสั่ง ifconfig เพื่อดูไอพี ของเครื่องเราแล้วดูบรรทัดที่สองตรง inet addr: ตามรูปไอพีคือ 192.168.1.42 ได้มาจากเครื่อง dhcp การเซตไอพีเองให้เป็น static IP พิมพ์คำสั่ง vi /etc/network/interfaces กด Enter กดคีย์อักษร  เพื่อเข้าสู่โหมดพิมพ์ข้อความ > เปลี่ยนจาก iface eth0 inet dhcp เป็น iface eth0 inet static แล้วพิมพ์คำสั่งเพิ่ม ตามรูปเลย แล้วทำการบันทึกด้วยการกด <Esc> แล้วตามด้วย <:><w><q> กด Enter จากนั้นรีสตาร์ตเซอร์วิสด้วยคำสั่ง /etc/init.d/networking restart กด Enter แล้วตรวจดูว่า IP Address เปลี่ยนแปลงหรือยัง ด้วยคำสั่ง ifconfig ก็จะได้ไอพีตามที่เราเซตก็คือ 192.168.1.20 เสร็จการติดตั้ง Ubuntu Linux Server